Design Thinking

Design Thinking คืออะไร ?

ความคิดในการออกแบบหรอ?
ก่อนอื่นเลยเราต้องแยกคำว่า Design Thinking ก่อนเป็นออกเป็นสองส่วนก่อนคือ Design และ Thinking

Design คืออะไร ?

คือ ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมในปัจจุบันให้เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ในอนาคต (Simon , 1968)
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า การออกแบบที่แท้จริงคือการพัฒนาบางอย่างและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ( DEX Space, 2016)

Thinking คืออะไร ?

คือกระบวนการคิดวิเคราะห์ การรู้จักพิจารณา ค้นหาใคร่ครวญ ประเมินค่าโดยใช้เหตุผลเป็นหลักในการหาความสัมพันธ์เชื่อมโยง หล่อหลอมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบอย่างสมเหตุสมผลก่อนที่จะตัดสินใจ (ชาตรี สำราญ , 2548)

Design Thinking คือ ..

“กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆ นั่นมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ”

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องของDesign thinking

Stanford d.school ได้แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5ขั้นตอนดังรูป

(Design thinking — Stanford d.school)

Empathy เป็นการทำความเข้าใจต่อกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด โดยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เมื่อจะสร้างสรรค์ หรือแก้ไขสิ่งใดก็ตามจะต้องเข้าใจถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้เสียก่อน เพราะนั่นจะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การพัฒนาความสำเร็จในทุกๆ ธุรกิจ
Define การสังเคราะห์ข้อมูล การตั้งคำถามปลายเปิดที่ผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่จำกัดกรอบของการแก้ปัญหา ซึ่งภายหลังจากที่เราเรียนรู้และทำเข้าใจต่อกลุ่มบุคคลเป้าหมายแล้ว ก็ต้องวิเคราะห์ปัญหา กำหนดให้ชัดเจนว่าจริงๆ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร เลือกและสรุปแนวทางความเป็นไปได้
Ideate การระดมความคิดใหม่ๆ อย่างไม่มีขีดจำกัด หรือการสร้างความคิดต่างๆ ให้เกิดขึ้น โดยเน้นการหาแนวคิดและแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้มากที่สุด หลากหลายที่สุด โดยความคิดและแนวทางต่างๆ ที่คิดขึ้นมานั้นก็เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้น Define
Prototype การสร้างแบบจำลอง หรือการสร้างต้นแบบขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทดสอบและตอบคำถามหรือกระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจสิ่งที่เราอยากรู้มากยิ่งขึ้น และยิ่งสร้างเร็วเท่าไรก็ยิ่งได้ลองหาข้อผิดพลาด และเรียนรู้เกี่ยวกับไอเดียของเราได้เร็วเท่านั้น
Test หรือการทดสอบ โดยเรานำแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาทดสอบกับผู้ใช้ หรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสังเกตประสิทธิภาพการใช้งาน โดยนำผลตอบรับ ข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนคำแนะนำมาใช้ในการพัฒนา และปรับปรุงต่อไป
จึงแบ่งขั้นตอนออกมาได้ว่าขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Empathize และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง
ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลายๆ ด้านมาสร้างไอเดีย
ขั้นตอนที่สี่และห้า (Prototype และ Test) คือขั้นตอนในการทดสอบแนวคิดและพัฒนาต้นแบบที่เป็นตัวอย่างแนวคิด เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น

(DesignThinking — WhiteTofu)

กระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ ไม่จำเป็นต้องทำเรียงตามลำดับแบบนี้เสมอไป อาจจะถึงขั้น 3 แล้วกลับไปขั้น 1 ใหม่ก็ได้ ให้เลือกตามความเหมาะสมของงาน ที่สำคัญคือหลักการของ Design Thinking นั้นเน้น Human-Center Approach หรือเน้นที่ตัวคนเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ ความคิด ความคิดเห็นของคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่ง Design Thinking เองก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงการออกแบบ หรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เท่านั้น แต่สามารถนำหลักการมาปรับใช้กับกระบวนการในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เราเผชิญกันอยู่ได้ทั้งหมด ขอเพียงให้เข้าใจหลักการ และรู้จักนำเครื่องมือมาปรับหรือประยุกต์ใช้เป็นสำคัญ (WhiteTofu , 2016)
แต่ Design Thinking ก็ยังไม่ใช่ทุกอย่างเสมอไป !
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีบทความที่มาสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมว่าทำไม Design Thinking นั้นไม่สำเร็จจาก Fjord บริษัทที่ใช้ Design Thinking ในการทำงานหรือเป็นหลักการขององค์กรเลยทีเดียว บริษัท Fjord นั้นได้ระบุว่า Design Thinking ก็ต่อเมื่อประกอบด้วย 3 ส่วนของเข้าด้วยกันเป็น Design System ซึ่งประกอบด้วย Design Doing และ Design Culture โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ต้องเกิดและทำงานพร้อมกัน ขาดส่วนใด ส่วนหนึ่งก็จะไม่สามารถทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างแน่นอน ในความหมายของทั้ง 3 ส่วนในยุคนี้คือ

(Design System — Molek)

  1. Rethink Design Thinking ในตอนนี้ต้องรวมการทำ Process ใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งมีกระบวนการ Co-Creation การทำงานจากบนลงล่างและล่างขึ้นบน การออกแบบตัวต้นแบบ และการทดสอบและรับคำติชมแบบต่อเนื่อง กระบวนการเหล่านี้ต้องมีกระบวนการให้คำแนนความพึ่งพอใจต่าง ๆ เช่น employing Net Promoter Score (NPS) หรือที่ Fjord นั้นใช้ Love Index ในการดูว่าพนักงานและผู้บริโภคมีความชอบและรักในสิ่งที่ออกแบบมาอย่างไร และตอบสนองต่อไปอย่างไร ซึ่งในระหว่างนี้การทำงานระหว่างบนลงล่างและล่างขึ้นบนจะมีส่วนช่วยให้เกิดการทำนวัตกรรมที่ดีออกมา
  2. Design Doing การทำงานที่ดีไม่ใช่แค่การได้คิด (Thinking) แต่เป็นกระบวนการลงมือทำอีกด้วย ซึ่งที่ Fjord นั้นเรียกว่า Design Doing ซึ่งต้องใช้ Design Expert มาช่วยในการออกแบบ ทำงานออกแบบให้ Craft และมี Design Practices ที่ใช้ในทุกการทำงานออกมา ตัวอย่างที่ Fjord จะดีไซน์สิ่งที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับมือถือหรือเสียงออกมา แทนที่จะดีไซน์ผลิตภัณฑ์หรือเว็บไซต์ออกมาเลย ทาง fjord กลับออกแบบพื้นที่ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้ามาปฏิสัมพันธ์ แล้วเก็บข้อมูลผู้บริโภคออกมา เพื่อนำมาใช้ในงานออกแบบต่อไป
  3. Design Culture นี้คือส่วนที่มีความสำคัญที่จะทำให้ทุกอย่างทำงานได้อย่างดี การมีวัฒนธรรมที่หลงใหลการออกแบบ วัฒนธรรมนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดบรรยากาศในการสร้างสรรค์งานที่ดี และสร้างงานที่มีประสิทธิภาพออกมา ซึ่งวัฒนะรรมมีตั้งแต่การเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในทีมที่ทำงานได้ดียิ่งขึ้น การที่พนักงานสามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ดี และการมีสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นต่อการทำงาน และสร้างความคิดวสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ซึ่งวัฒนะรรมที่ดีจะดึงดูดคนมาทำงานมากกว่าเงินในยุคนี้ และทำให้เกิดการพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ทั้ง 3 ส่วนนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Design Thinking นั้นเกิดการทำงานที่ดีผล
ถ้าสามารถสร้างทั้ง 3 ส่วนได้ บริษัทและการสร้างนวัตกรรมของคุณจะไม่เป็นรองใครในการทำการตลาดอย่างแน่นอน (Molek , 2016)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

MIS (Management Information System)

Chapter 1 Summary